หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

 

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต 

สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์  ภาควิชามนุษยศาสตร์ 

                                   

ชื่อหลักสูตร

     ภาษาไทย      :  หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

     ภาษาอังกฤษ  :  Master of Arts Program in Industrial and Organizational Psychology      

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)       :   ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ)   

     ชื่อย่อ (ภาษาไทย)         :   ศศ.ม. (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ)

     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)    :   Master of Arts (Industrial and Organizational Psychology)

     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)        : M.A. (Industrial and Organizational Psychology)

 

ปรัชญาของหลักสูตร

     พัฒนาคน พัฒนาองค์ความรู้ทางจิตวิทยา เพื่อพัฒนาการทำงาน

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การให้มีความสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานในองค์การ

           2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และนำความรู้ไปใช้ในการวิจัย เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

 

 

ความสำคัญ

         1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งความต้องการในภาครัฐ และภาคเอกชน

         2. พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

     3. ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน ทั้งในการสอนการบริการทางวิชาการและการวิจัย

 

การพัฒนาหลักสูตร

     ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานในองค์การ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย จึงได้จัดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถนำความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การไปใช้ในการปฏิบัติงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานในองค์การ รวมทั้งผลิตผู้มีความรู้และความสามารถในการวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบและนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

     - อาจารย์

     - นักวิจัย 

     - นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ          

     - นักฝึกอบรม

     - นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ 

     - วิทยากรอิสระ 

     - ธุรกิจส่วนตัว

     - งานอื่นในสาขาที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

     1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรองวิทยฐานะ

     2. ผู้ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

     3. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

จุดเด่นของหลักสูตร/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcome)  

     1. นักศึกษาสามารถประยุกต์องค์ความรู้ทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การมาใช้ในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนาบุคลากรในองค์การได้

     2. นักศึกษามีทักษะในการคัดเลือกบุคลากร สร้างแบบวัดทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ออกแบบโปรแกรมในการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งออกแบบสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงานได้

     3. นักศึกษาสามารถดำเนินการวิจัยทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การตามระเบียบวิธีวิจัยได้อย่างถูกต้องเพื่อให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การได้

     4. นักศึกษามีทักษะในการคิดวิเคราะห์ สื่อสาร และประสานงานระหว่างบุคคลและองค์การได้

  5. นักศึกษาเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกันในองค์การได้

การดำเนินการหลักสูตร

     หลักสูตร 2 ปี     ภาคปกติ แผน ก แบบ ก 2 และ ภาคพิเศษ แผน ข  

     ภาคปกติ    จัดการเรียนการสอนในวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.

     ภาคพิเศษ   จัดการเรียนการสอนในวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.

  •      ภาคการศึกษาที่ 1     เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม
  •      ภาคการศึกษาที่ 2     เดือนมกราคม-พฤษภาคม

     หมายเหตุ ดูข้อมูลเพิ่มเติมจากปฏิทินการศึกษา มจพ.

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

     ภาคปกติ    ภาคการศึกษาละประมาณ 18,000 – 20,000 บาท (ขึ้นอยู่กับการลงทะเบียนหน่วยกิต)

     ภาคพิเศษ   ภาคการศึกษาละ 35,000 บาท

รูปแบบของหลักสูตร และจำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

     จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 36 หน่วยกิต

     โครงสร้างหลักสูตร

          แผน ก แบบ ก 2

          1. หมวดวิชาบังคับ        33       หน่วยกิต

              วิชาบังคับ              21       หน่วยกิต

              วิทยานิพนธ์            12       หน่วยกิต

          2. หมวดวิชาเลือก           3      หน่วยกิต

              วิชาเลือก                  3      หน่วยกิต

          แผน 2

          1. หมวดวิชาบังคับ        27       หน่วยกิต

              วิชาบังคับ              21       หน่วยกิต

              สารนิพนธ์                6      หน่วยกิต

          2. หมวดวิชาเลือก           9      หน่วยกิต

              วิชาเลือก                  9      หน่วยกิต          

     ทั้งนี้แผน ข ต้องสอบประมวลความรู้ ประกอบด้วย 1) การสอบข้อเขียน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิชาบังคับและกลุ่มวิชาเลือก และ 2) การสอบปากเปล่า ซึ่งสามารถสะสมการสอบผ่านข้อเขียนแต่ละกลุ่มในการสอบแต่ละครั้งได้ ภายในการสอบ 2 ครั้ง

 

     หมายเหตุ ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก มคอ.2 

 

ภาพกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของหลักสูตร https://shorturl.asia/9M4NF

     1. ภาพโครงการคืนสู่เหย้าชาวจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

     2. ภาพโครงการนำเสนอเอกสารเชิงแนวความคิดการทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

     3. ภาพโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

     4. ภาพโครงการอบรมจิตวิทยาเบื้องต้น

     5. ภาพการติดตามความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

     6. ภาพการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

     7. ภาพการศึกษาดูงาน

     8. ภาพการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการของของนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา

     1. กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด) เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

     2. กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษามีคณะกรรมการวิชาการของภาควิชาทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษารายวิชา ทั้งการออกข้อสอบและการตัดเกรดเป็นไปตามมติของคณะกรรมการ นอกจากนี้จะใช้การทวนสอบจากงานที่มอบหมาย รายงานหรือการสอบประเภทอื่น ๆ โดยวิธีการทวนสอบที่ใช้จะขึ้นอยู่กับตัวชี้วัดมาตรฐานการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เป็นสำคัญ

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

     แผน ก แบบ ก 2

     1.  ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

     2.  ได้ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)

     3.  เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งประกอบ ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

     4.  การตีพิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์ ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับ                    การตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว จำนวน 1 เรื่อง

     5.  เกณฑ์อื่น ๆ 

          5.1 กรณีที่เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิตต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่หลักสูตรกำหนด

          5.2 สอบผ่านภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

     แผน ข

     1.  ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

     2.  ได้ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)

     3.  สอบผ่านการสอบประมวลความรู้ ด้วยข้อเขียนและปากเปล่า

     4.  เสนอสารนิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งประกอบ ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

     5. สารนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของสารนิพนธ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้ จำนวน 1 เรื่อง

     6.  เกณฑ์อื่น ๆ 

          6.1 กรณีที่เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิตต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่หลักสูตรกำหนด

          6.2 สอบผ่านภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

สถานที่จัดการการเรียนการสอน 

คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 

1518 ถนนประชาราษฏร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพ 10800 

https://goo.gl/maps/JbZmzApzAVfKeuW7A

 

ช่องทางการติดตามข่าวสารของหลักสูตร

           จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มจพ.

    IOP KMUTNB               

          https://lin.ee/UTe2ZBH  

             

  การสมัครเรียน

     สมัครออนไลน์ที่           https://grad.admission.kmutnb.ac.th 

     ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร     เดือน พฤศจิกายน – พฤษภาคม 

                                   เดือน มิถุนายน – กันยายน 

     หมายเหตุ ดูข้อมูลเพิ่มเติมจากระเบียบการรับสมัครของทางบัณฑิตวิทยาลัย